1. อธิบายขยายความคำศัพย์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.1 การส่งสัญญานแบบ Multicast คือ
ตอบ การส่งข้อมูลแบบ Multicast คือ การส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางหลาย ๆ เครื่องภายในครั้งเดียวเป้าหมายที่ส่งไปไม่ใช้เครื่องใดเครืองหนึ่ง ดังนั้น การส่งข้อมูลแบบ Multicast จะต้องส่งโดยใช้ Multicast Address ซึ่งเป็น IP Address ที่อยู่ในคลาส D
1.2 Proxy Server คืออะไร
ตอบ Proxy Server คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งเพื่อให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และกำหนดให้ผู้ใช้ทุกคนเรียกใช้ข้อมูล WWW ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ โดยเครื่องดังกล่าวจะมีการติดตั้งโปรแกรมเพื่อทำหน้าที่เรียกข้อมูล WWW มาให้บริการแก่ผู้ใช้ และจัดเก็บข้อมูลที่เคยถูกเรียกนั้นไว้ ในเครื่อง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ข้อมูลนั้นซ้ำ ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเรียกข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลภายนอกมาใหม่
1.3สายUTP (Unshielded Twisted Pair) คือ
ตอบ ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน หุ้มด้วยพลาสติก ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
1.4 มาตรฐาน 802.11g คือ
ตอบ ทำงานบนย่านความถี่ 2.4 GHz เหมือนกับ อุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b แต่ว่าสามารถให้อัตราการถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 54 Mbps เหมือนกับ อุปกรณ์มาตรฐาน IEEE 802.11a
1.5 Firewall คือ
ตอบ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)
1.6 Cloud Computing คือ
ตอบ เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการ
1.7 ISP (Internet service Provider) คือ
ตอบ การทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น
1.8 Core Layer คือ
ตอบ เป็นศูนย์กลางของระบบ network หน้าที่หลักของ Layer คือ Forward Packet โดยจะรับ Packet ที่อยู่ใน Layer ต่างๆมาแล้วทำการ Forward ออกไป โดยจะบรรจุเส้นทางหรือ Routing Table เพื่อที่จะได้ทำการ Forward Packet ไปยัง Network ต่างๆได้อย่างถูกต้อง Core Layer เหมาะออกแบบในระบบ network ที่มีขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย ถ้าในระบบ network ที่มีขนาดไม่อยากมากเราอาจจะไม่มี Core Layer โดยมีเพียง Distribution Layer กับ Access Layer
1.9 Star Topology คือ
ตอบ เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหาย จะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ Hub เป็นตัวเชื่อมต่อ จากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
1.10. สถาปัตยกรรม แบบ P2P (Peer to Peer) คือ
ตอบ - ระบบที่อนุญาติให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
- ระบบการสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยตร
- ฯลฯ
แต่เดิมนั้นเมื่อเราต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากแม่ข่ายโดยใช้ FTP*,HTTP** นั้น
หากมีคนที่ต้องการไฟล์เดียวกับเรา 500 คนมาดาวน์โหลดบนแม่ข่ายเดียวกันพร้อมๆ กันโดยแต่ละคนมี Bandwidth คนละ 256kbps
ถ้าจะให้ทุกคนนั้นได้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดตัวแม่ข่ายจะต้องมี Bandwidth เท่ากับ 256kbps * 500 (125mbit)
2. ให้นักศึกษาอธิบายหลัการในการออกแบบระบบเครือข่ายซึ่งจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ 4 ประการ มาให้ละเอียดที่สุด ตามความเข้าใจของนักศึกษา (อาจวาดรูปประกอบ) ได้แก่
2.1 Fault Tolerance
-ป้องกันการล้มเหลวของการทำงานของระบบเท่าที่สามารถทำได้ การคงทนต่อความเสียหายสามารถทำได้หลายวิธีวิธีการอื่นได้แก่การตรวจจับข้อผิดพลาด และระบุตำแหน่งความเสียหาย
2.2 Scalability
- ความสามารถในการรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ เช่น I/O ของอุปกรณ์Controller และจำนวนเครื่อง SCADA Client ที่เพิ่มขึ้น หรือการต่อพ่วงกับระบบ SCADA ของยี่ห้ออื่น ๆ เป็นต้น
2.3 Quality Of Service
-การควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของระบบเพื่อให้บริการที่มีคุณภาพเช่น มีการรับประกันเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล การสูญหายของข้อมูลและ คุณภาพของสัญญาณตามที่ได้กำหนดไว้
2.4 Security
- ความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การแบล็คอัพข้อมูลไว้ หากข้อมูลสูญหายจะได้ไม่เป็นปัญหากับผู้ใช้งาน
ภาพตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่าย
3. ให้นักศึกษาอธิบานมาตรฐาน OSI 7 Layer แต่ละชั้นเรียกว่าอะไรและมีหน้าที่อะไร (อาจวาดรูปประกอบ)
- 1. เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูล
- 2. เลเยอร์ชั้น Data Link เสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดข้อมูลจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจ
-3. เลเยอร์ Network ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง
- 4. เลเยอร์ Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host การสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง(คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่
- 5. เลเยอร์ Session หน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ
- 6. เลเยอร์ Presentation ทำหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ (Text) แปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน
-7. เลเยอร์ Application ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น
ภาพตัวอย่างสถาปัตยกรรม OSI 7 Layer
4. ให้นักศึกษากล่าวถึงประโยชน์ของระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
1. สามารถแชร์อุปกรณ์ร่วมกับภายในเครือข่ายได้ เช่น การแชร์เครื่องปริ้น , สแกนเนอร์
2. สามารถแชร์ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น การใช้เครื่องอื่นเข้ามาแก้ไขงาน หรือ คัดลอกงาน จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง
3. การแชร์อินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้ โดยการเปิดใช้งานแบบ Hotspot เป็นการแชร์อินเตอร์เน็ตที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ถือเป็นการประหยัดไปในตัว
4. สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้ เช่น ในห้อง LAB คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน 30 เครื่อง คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้
5. การสื่อสารแบบอื่นๆสามารถเข้าใช้ได้ในเครื่องอื่น เช่น การใช้งาน E-mail
5. ให้นักศึกษาแสดงวิธีคิดคำนวนการแบ่ง subnet และการหาจำนวน Host ดังนี้
- ต้องการแบ่งเป็น 126 subnet
- มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 131,070
IP อยู่ในคลาส : A
subnetmask ที่กำหนดใหม่ : 255. 254.0.0
จำนวน subnet ทั้งหมด : 128
จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 126
จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 131.072
จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 131,070
- ต้องการแบ่งเป็น 2000 subnet
- มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 15
IP อยู่ในคลาส : B
จำนวน subnet ทั้งหมด : 2048
จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 2046
จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 32
จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 30
- ต้องการแบ่งเป็น 6 subnet
- มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 30
IP อยู่ในคลาส : C
จำนวน subnet ทั้งหมด : 32
จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 30
จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 8
จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 6
- ต้องการแบ่งเป็น 1000 subnet
- มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 60
IP อยู่ในคลาส : B
จำนวน subnet ทั้งหมด : 1,024
จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 1,022
จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ
subnet : 64 จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 62
- ต้องการแบ่งเป็น 14 subnet
- มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 14
IP อยู่ในคลาส : C
จำนวน subnet ทั้งหมด : 16
จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 14
จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 16
จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 14
....................................................................................................................